ฟันผุ ทำอย่างไรดี? 4 สาเหตุของฟันผุและวิธีป้องกัน ได้ผลชัวร์ 100%

ฟันผุ ทำอย่างไรดี? 4 สาเหตุของฟันผุและวิธีป้องกัน ได้ผลชัวร์ 100%

ฟันผุ สาเหตุ และ วิธีป้องกัน โดย ผู้เชี่ยวชาญ

ฟันผุ คือโรคอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่องปาก พบได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงคนชรา เนื่องจากผิวฟันถูกทำลายโดยกรดที่เกิดจากการรวมตัวของเศษอาหาร คราบจุลินทรีย์ และแบคทีเรีย จำพวกแป้งและน้ำตาล เมื่อฟันที่ผุหนักเข้าจนถึงรากฟันจะมีอาการปวดฟัน

ฟันผุ เกิดจากสาเหตอะไร?

ฟันคนเราจะมีกระบวนการละลายแร่ธาตุและกระบวนการเติมแร่ธาตุ หรือ Demineralization & Remineralization ให้กับผิวฟันอยู่ตลอดเวลา โดยแร่ธาตุเหล่านี้จะอยู่ในน้ำลาย ซึ่งในฟันของคนที่ปกติจะมีกระบวนการ Remineralization มากกว่า Demineralization

แต่เมื่อกระบวนการ Demineralization มีมากกว่าก็จะทำให้เป็นหนึ่งใน สาเหตุที่ทำให้ฟันผุ ได้ เพราะเชื้อแบคทีเรียบบางชนิด อาทิ Lactobacillus และ Streptococcus mutan จะย่อยอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลทำให้เกิดกรดที่ทำลายผิวเคลือบฟัน สังเกตได้จากคราบขาวขุ่น ติดตามร่องฟันแหละเหงือก ระยะนี้สามารถทำการแปรงฟันออกเองได้ แต่หากยังคงปล่อยไว้ให้คราบละลายผิวฟันต่อไป ฟันจะหมองคล้ำจนเป็นสีน้ำตาล และค่อยๆกลายเป็นรู เมื่อไรก็ตามที่ฟันกลายเป็นรูแล้ว จะคงสภาพอยู่เช่นนั้น ยิ่งปล่อยไว้นาน หากกัดจนถึงรากฟัน ก็จะทำให้ปวดฟัน อาจถึงขั้นฟันร่วงได้อีกด้วย

ฟันผุต้องมีอาการปวดฟันหรือไม่

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ไม่ได้ปวดฟันจะมีฟันฟุหรือไม่? ขึ้นอยู่กับว่าจะละลายผิวฟันในระดับไหน เพราะผิวฟันมีถึง 3 ระดับด้วยกัน คือ Enamel , Dentin และ Pulp หากโดนทำลายในชั้น Enamel และ Dentin จะไม่แสดงการใดๆ แต่อาจพบรอยขาวหรือรอยคล้ำ แต่เมื่อฟันผุลึกลงถึงชั้น Pulp จะมีอาการปวด เสียวฟัน โดยเฉพาะเวลาที่รับประทานของร้อนและเย็น บางรายอาจพบว่ามีกลิ่นปากด้วย


สาเหตุของฟันผุมีอะไรบ้าง

สาเหตุของฟันผุ

4 สาเหตุที่ทำให้ฟันผุ ได้แก่ ฟัน เชื้อแบคทีเรีย อาหารบางประเภท และระยะเวลาที่เชื้อก่อตัว

  • 1. สาเหตุจากฟัน

สภาพฟันแต่ละคนมีความลึกหรือรอยหยาบของฟันที่แตกต่างกันซึ่งมีผลต่อการสะสมและถูกกัดเซาะที่แตกต่างเช่นกัน สำหรับผู้เป็นโรคเหงือก หรือเหงือกร่น ก็มีความเสี่ยง เพราะส่วนของ Dentin จะถูกสัมผัสกับกรดง่ายขึ้น และในชั้นของ Dentin จะเป็นชั้นที่มีเกลือแร่เป็นส่วนประกอบน้อยกว่าผิวฟันส่วนอื่น จึงทำให้ฟันผุได้ง่ายกว่า เพราะผิวฟันปกติจะสามารถทนกรดได้ในระดับ ph 5.5 จึงจะเกิดฟันผุ

  • 2. เชื้อแบคทีเรีย

คือการสะสมของคราบจุลินทรีย์ เมื่อมีมากขึ้นจะเกิดคราบหินปูน ที่จะหลั่งกรดออกมาทำลายผิวฟันให้ฟันผุได้

  • 3. อาหาร

อาหารที่ถูกสะสมในช่องปากเป็นเวลานานรวมตัวกับแบคทีเรียจะปล่อยกรดออกมาทำลายฟัน กรดนี้จะค่อยๆทำให้ฟันสึกและผุในที่สุด โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการทานอาการจำพวกนี้อย่าให้บ่อยมาก

  • 4. ระยะเวลาที่ฟันเจอกับกรด

เกิดจากกระบวนการย่อยอาหาร ซึ่งเมื่อทานอาหารโดยเฉพาะแป้งและน้ำตาล แล้วไม่มีการทำความสะอาดปล่อยให้หลงเหลือไว้ เชื้อแบคทีเรียที่ย่อยอาหารจะทำให้เกิดกรดที่จะทำลายผิวฟัน ซึ่งในความเป็นจริง น้ำลายและเกลือแร่ในน้ำลายจะมีวงจรการรักษาสุขภาพช่องปากอยู่แล้ว แต่หากมีไม่มาพอ หรือรับประทานอาหารบ่อยจนสมดุลของน้ำลายผิดไปผลิตได้ไม่มากเท่าเดิม ก็จะทำให้ฟันโดนกรดได้มากขึ้น และเสี่ยงต่อฟันผุมากขึ้นด้วย

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่

  • โรคประจำตัวบางชนิดที่มีผลต่อต่อมน้ำลาย อาทิ เบาหวาน
  • ยาบางประเภทที่ทำให้การผลิตน้ำลายลดลง ปากแห้ง คอแห้ง อาทิ ยาโรคซึมเศร้า ยาแก้แพ้
  • การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยร้ายแรงที่ทำให้เกิดฟันคล้ำ ฟันผุ อาจถึงขั้นเหงือกอักเสบ

เราจะทราบได้อย่างไรว่ามี ‘ฟันผุ’

อาการของฟันผุ

      อาการของฟันผุที่คนส่วนใหญ่ทราบ คือ ฟันเป็นรู เป็นแมง หรือเสียวฟัน ซึ่งจริง ๆ แล้วกระบวนการฟันผุเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่พบอาการอะไร ซึ่งสามารถทราบได้หากส่องด้วยกระจก จะพบรอยสีที่ต่างจากเนื้อฟันเดิมเล็กน้อย เช่นรอยคล้ำสีน้ำตาล หรือใช้ตะขอขูดบนผิวฟัน จะทราบถึงเนื้อฟันที่ถูกกัดกร่อนไป ซึ่งจะให้ชัดเจนที่สุด อาจใช้วิธีการ X-ray เพื่อหารอยฟันผุได้เช่นกัน

      อีกกรณีหากพบว่าทำความสะอาดช่องปากแล้วแต่กลิ่นปากยังคงอยู่ แนะนำให้พบทันตแพทย์ เพราะเหงือกหรือฟันอาจมีปัญหาที่เราไม่สามารถมองเห็นได้


การป้องกัน ฟันผุ

การป้องกัน ฟันผุ

  • รักษาสุขภาพในช่องปากสม่ำเสมอ ด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธีและทำเป็นประจำอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันวันละ 1 ครั้ง ห้ามละเลย
  • ลดความถี่ของการทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล การอมลูกอมบ่อยๆ จะส่งผลต่อระบบในช่องปากอย่างร้ายแรง เพราะสารประเภทนี้จะคงอยู่ตามผิวฟันตลอดเวลา อีกทั้งทำให้ระบบน้ำลายไม่สามารถทำความสะอาดช่องปากได้อย่างเต็มที่
  • ในกรณีให้นมบุตร ผู้เป็นแม่ไม่ควรให้บุตรอมหัวนมค้างไว้ เพราะจะทำให้ฟันน้ำนมผุ
  • เลือกเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของ Xylitol เพราะมีสารช่วยยับยั้งการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำตาลกับแบคทีเรีย
  • การเสริมแคลเซียมและฟลูออไรด์จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้ฟันและช่วยเคลือบผิวฟันป้องกันการเกิดฟันผุได้ดี

การรักษาฟันผุ

การรักษา ฟันผุ

หลายคนพอเห็นฟันผุก็อาจจะกังวลว่า ฟันผุ ทำอย่างไรดี? ต้องรักษาด้วยวิธีไหน? ซึ่งการรักษาฟันผุสามารถทำการรักษาได้หลายวิธีโดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าโครงสร้างฟันได้ถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด และแต่ละระดับควรได้รับการรักษาเช่นไร หากเสียหายไม่มากส่วนใหญ่แพทย์ก็จะใช้วิธี อุดฟัน  ในการรักษาเบื้องต้น


เพียงเท่านี้ เชื่อว่าหลายคนก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ฟันผุและวิธีการป้องกันเพื่อให้ฟันของเราแข็งแรงและสวยงามตลอดไปแล้วค่ะ อย่าลืมทำความสะอาดฟันและรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ เพราะฟันแข็งแรงไม่เพียงช่วยให้เราสามารถรับประทานอาหารได้อย่างเต็มที่ แต่ยังช่วยให้เรามีความมั่นคงในการพูดคุยและประชุมกับผู้อื่นได้อย่างมั่นใจด้วยค่ะ

อ้างอิง: 

Cavities (Tooth Decay). https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10946-cavities

Tooth decay. https://en.wikipedia.org/wiki/Tooth_decay