ยาสีฟัน ฟันขาว | เลือกใช้แบบไหนดีให้ได้ผลจริง

ยาสีฟัน ฟันขาว เลือกใช้แบบไหนดีให้ได้ผลจริง

ยาสีฟัน ฟันขาว

ยาสีฟัน ฟันขาว ใช้ยาสีฟันแบบไหนดี


ในปัจจุบันมนุษย์เราหันมาใส่ใจกับสุขภาพกันมากขึ้นโดยเฉพาะสุขภาพในช่องปากและฟัน จึงทำให้เห็นผลิตภัณฑ์ ยาสีฟัน ฟันขาว ออกมามากมาย เห็นได้จากการที่มนุษย์เอาใส่ใจกับการกินและการดูแลรักษาความสะอาดโดยเฉพาะกับความนิยมที่อยากจะมี “ฟันดูดีและฟันขาว” ฉะนั้นยาสีฟันจึงเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ผู้คนในยุคปัจจุบันขาดไม่ได้

ยาสีฟัน คือ สารที่ช่วยในการทำความสะอาดฟันโดยจะใช้คู่ร่วมกับการแปรงฟัน ทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและทำให้รู้สึกสดชื่นหลังจากการแปรงฟันซึ่งจะมีส่วนช่วยส่งเสริมความมั่นใจบุคลิกภาพ เวลาสนทนาหรือยิ้มแย้มนั่นเอง อีกทั้งช่วยกำจัดเศษอาหารและคราบสะสมต่างๆบนตัวฟัน ปกป้องฟันผุหรือเหงือกอักเสบ ที่สำคัญมีส่วนช่วยทำให้ฟันขาวขึ้นด้วย (แต่จะขึ้นอยู่กับสารประกอบที่จะเพิ่มเติมลงในยาสีฟัน) ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่ามีหลายยี่ห้อมากมายที่ต่างโฆษณาว่าจะช่วยทำให้ฟันขาวเต็มไปหมดแต่เราควรจะเลือกแบบไหนดีละ?


ยาสีฟัน ฟันขาว ทำให้ฟันขาวได้จริงหรือไม่?

คำถามนี้อาจจะมีหลายคนสงสัยว่ายาสีฟันเพื่อให้ฟันขาวนั้นทำให้เราฟันได้จริงเหรอ? ยาสีฟันเพื่อฟันขาวนั้นสามารถทำให้เราฟันขาวได้จริงค่ะ แต่ไม่สามารถทำให้ฟันที่เหลืองจากฟันตกกระหรือคราบฟันที่เป็นฟันผุและมีสีดำได้ ซึ่งยาสีฟันเพื่อฟันขาวสามารถทำให้ฟันขาวขึ้นได้เล็กน้อยเพราะมีสารที่ขัดผิวหน้าฟัน เช่น คราบจากกาแฟหรือคราบจากบุหรี่ เป็นต้น แแน่นอนว่ามันไม่สามารถช่วยให้ฟันขาวได้เท่ากับ วิธีฟอกฟันให้ขาว  แต่มันยังสามารถช่วยรักษาเพื่อให้ฟันขาวได้นานมากยิ่งขึ้นกับคนที่เพิ่งฟอกสีฟันเพราะการฟอกสีฟันขาวจะอยู่ได้ประมาณ 1-2 ปี ได้แล้วแต่กรณี

การใช้ยาสีฟันเพื่อทำให้ฟันขาวขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา โดยทั่วไปแล้ว ยาสีฟันมักถูกใช้เพื่อลดการสกปรกและเป็นตัวช่วยในการทำให้ฟันดูสะอาดมากขึ้น แต่หลายคนก็มักจะเกิดความสงสัยว่ายาสีฟันจะสามารถทำให้ฟันขาวขึ้นจริงๆ หรือไม่ คำตอบคือ ยาสีฟันสามารถช่วยลดสีเหลืองหรือสกปรกบนผิวฟันได้ แต่มันไม่สามารถทำให้ฟันขาวขึ้นจริงๆ ได้โดยตรง การทำให้ฟันขาวขึ้นจริงๆ จะต้องเป็นการใช้วิธีการทำฟันขาวทางคลินิก เช่น การใช้สารสกัดไฮโดรเจนเพื่อทำฟันขาว หรือการใช้เทคนิคการผ่าตัดฟันขาว เพื่อเอาผิวฟันที่มีสีเหลืองออก การใช้ยาสีฟันเป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพฟันได้ แต่ไม่สามารถทำให้ฟันขาวขึ้นจริงๆ ได้โดยตรง ดังนั้น หากต้องการฟันขาวจริงๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันตกรรมเพื่อเลือกใช้วิธีการทำฟันขาวที่เหมาะสมกับสภาพฟันและความต้องการของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ


1. ยาสีฟันไวท์เทนนิ่ง (Whitening Toothpaste)

ยาสีฟันฟอกฟันขาว

ยาสีฟันไวท์เทนนิ่ง หรือ ยาสีฟันเพื่อฟันขาว ในปัจจุบันได้รับความนิยมมากจากผู้คนทุกเพศทุกวัยเพราะทุกคนล้วนต่างอยากมีฟันที่ขาวและดูดีด้วยกันทั้งสิ้นถึงแม้ว่าอาจจะปฏิบัติตามสุขอนามัยของทันตกรรมอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แต่ก็ยังคงมีคราบฟันเหลือง ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ผู้คนต่างให้ความสนใจและเลือกใช้

ส่วนประกอบของยาสีฟัน ฟันขาว มีอยู่ 2 ประเภท

  • ผงขัดหยาบที่จะช่วยกัดกร่อนหรือขัดกับผิวฟันแต่จะมีความอ่อนโยนและไม่เป็นอันตรายกับฟัน
  • จะมีการผสมกับสารเคมีบางตัวเช่น โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต ที่ช่วยทำลายหรือละลายคราบที่ผิวฟัน

ซึ่งยาสีฟันไวท์เทนนิ่งส่วนใหญ่แล้ว จะใส่สารขัดฟันที่หยาบแตกต่างกันไป สารนี้จะมีส่วนช่วยขจัดสารคราบต่างๆบนผิวฟันได้ เป็นการขัดเอาคราบที่อยู่ภายนอกผิวฟันออกไปนั่นเองฉะนั้นจะทำให้ฟันขาวได้แค่เท่าเดิมกับสีฟันของเรา ซึ่งนั่นหมายความว่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าสีฟันธรรมชาติของเราหรือคราบที่ลึกไปว่าพื้นผิวของฟัน ช่วยได้แค่ขจัดคราบที่หน้าผิวฟันเท่านั้นเอง ถ้าหากใส่สารขัดฟันหยาบมากขึ้นก็จะขจัดคราบได้มากขึ้นแต่ก็จะยิ่งทำให้เคลือบฟันบางลงไวมากขึ้นจนอาจทำให้เห็นเนื้อฟันได้ง่ายๆซึ่งนั้นไม่เป็นผลดีต่อในอนาคตเพราะเมื่อเราแก่ตัวขึ้นอาจจะมีอาการเสียวฟันได้ง่าย

แล้วก็จะมียาสีฟันไวท์เทนนิ่งบางกลุ่มก็โฆษณาว่า เติมสารเคมีพิเศษเสริมลงไปนอกเหนือจากสารขัดฟันที่มีคุณสมบัติช่วยคราบฟันในบริเวณคอฟันหรือซอกฟันที่เราแปรงไม่ทั่วถึง ซึ่งสารตัวที่ว่านี้จะมีคุณสมบัติในการย่อยคราบฟันที่โปรตีนได้ดีแต่มีรายงานวิจัยพบว่าสารเคมีนี้มีส่วนช่วยให้ฟันขาวได้น้อยมากๆ

แต่ในปัจจุบันก็จะมียาสีฟันบางยี่ห้อที่จะใช้สารเคมีสีฟ้าเป็นตัวเคลือบที่ผิวฟันทำให้เราเห็นฟันเหลืองน้อยลงซึ่งนั้นอาจจะเป็นภาพลวงตาเพราะสารเหล่านี้จะไปย้อมเคลือบอยู่บนผิวฟันแทนทำให้ฟันแลดูขาวขึ้นนั่นเอง ถ้าหากใช้วันละ 2 ครั้งตั้งแต่ 2-6 สัปดาห์ขึ้นไปก็จะทำให้ปรากฏฟันขาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนั่นเป็นเพราะผลมาจากสารสีฟ้าตัวที่ว่านี้ แต่ในทางกลับกันถ้าใช้มากเกินไปก็จะทำให้เคลือบฟันบางลงเพราะสารตัวนี้อาจทำลายเคลือบฟันของคุณอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่ายาสีฟันไวท์เทนนิ่งทั่วๆไปจะไม่มีอันตรายแต่ขึ้นชื่อว่ามีสารเคมีประกอบอยู่ด้วย ผู้ใช้ควรใช้อย่างระมัดระวังจะดีที่สุด


2. ยาสีฟันฟอกสีฟัน (Bleaching Toothpaste)

ยาสีฟันฟันขาว

เป็นยาสีฟันที่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับยาสีฟันไวท์เทนนิ่ง แต่จะเพิ่มสารเคมีที่สามารถเข้าไปฟอกสีฟันภายในเนื้อฟันได้มากกว่ายาสีฟันไวท์เทนนิ่ง เพราะสารเคมีที่ใช้จะซึมผ่านเคลือบฟัน และเนื้อฟันสามารถเข้าไปสลายโมเลกุลของสีในเนื้อฟันนั่นเอง . . . ซึ่งสารที่ใช้ฟอกสีฟันส่วนใหญ่จะเป็น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือคาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ 1 เปอร์เซ็นต์ สารเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นสารโมเลกุลขนาดเล็กมากจนสามารถที่จะแทรกซึมเข้าไปเนื้อฟันได้ง่ายโดยจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารที่อยู่ในเนื้อฟันให้แตกตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็กลง เพราะสารที่อยู่ในเนื้อฟันนั้น มีโมเลกุลใหญ่และทึบแสง เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่ทันตแพทย์จะใช้ในการฟอกสีฟันในคลินิกทันตกรรม แต่ความเข้มข้นจะน้อยกว่ามาก . . . แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นประสิทธิภาพของการฟอกสีฟันจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารฟอกสีฟัน ความสามารถในการแทรกซึมและจำนวนครั้งที่สารฟอกสีฟันได้สัมผัสกับโมเลกุลสีในเนื้อฟันนั่นเอง

ดังนั้น การใช้ยาสีฟันฟอกฟันขาวในงานวิจัยจะพบว่า ยาสีฟันฟอกนั้นไม่ได้ช่วยให้ฟันขาวขึ้นจากภายเนื้อฟันในแต่อย่างใด เพราะความเข้มข้นที่ใช้ในการฟอกสีฟันน้อยมากหากเทียบกับการทำทันตกรรมที่จะใช้ไฮโดรเจนออกไซด์ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์และสัมผัสฟันนานซึ่งอาจจะเป็นชั่วโมงหรือสองชั่วโมงจึงจะสามารถทำให้ฟันนั้นเปลี่ยนสีได้ . . . และในความเข้มข้นที่น้อยและเวลาที่สัมผัสในขณะที่กำลังแปรงฟันซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาเพียง 10-20 นาทีเท่านั้นจะไม่สามารถช่วยให้ฟอกฟันขาวขึ้นแต่อย่างใด แต่ก็นับว่าเป็น วิธีขัดฟันขาวสะอาดใส ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ที่บ้านของคุณ


วิธีการเลือกซื้อยาสีฟันที่มีคุณภาพและปลอดภัย

การเลือกซื้อยาสีฟันที่มีคุณภาพและปลอดภัย เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากยาสีฟันที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ปลอดภัยอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและภาวะโรคทางชีวภาพได้ ดังนั้นหากคุณกำลังมองหายาสีฟันที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ คุณควรพิจารณาดังนี้:

  • ตรวจสอบป้ายกำกับสินค้า: คุณควรอ่านและเข้าใจข้อมูลบนฉลากสินค้าอย่างรอบคอบ เช่น วิธีใช้, ส่วนผสม, ข้อควรระวัง และวันหมดอายุ
  • เลือกสารที่ไม่เป็นอันตราย: คุณควรเลือกยาสีฟันที่มีสารสกัดจากพืชธรรมชาติ หรือสารที่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยต่อสุขภาพ
  • ควรเลือกยาสีฟันที่เหมาะสมกับปัญหาของคุณ: คุณควรเลือกยาสีฟันที่เหมาะสมกับปัญหาของคุณ เช่น ถ้าคุณมีฟันอ่อน คุณควรเลือกยาสีฟันที่อ่อนโยนและไม่กลมกล่อมเนื้อเยื่อเครื่องครัว
  • ควรเลือกยาสีฟันที่ได้รับการรับรองจากองค์กรทางการแพทย์: คุณควรเลือกยาสีฟันที่ได้รับการรับรองจากองค์กรทางการแพทย์ เช่น สมาคมทันตแพทย์แห่งประเทศไทย หรือองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
  • ควรเลือกยาสีฟันที่มีรีวิวและคะแนนสูง: คุณสามารถตรวจสอบรีวิวและคะแนนของยาสีฟันได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น เว็บไซต์รีวิวสินค้า, บล็อก, หรือช่องทางออนไลน์อื่นๆ
  • เลือกยาสีฟันที่เหมาะกับงบประมาณของคุณ: คุณควรเลือกยาสีฟันที่เหมาะสมกับงบประมาณของคุณ โดยไม่ควรเลือกยาสีฟันที่ราคาถูกมากเกินไป เพราะอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีเท่าที่คาดหวังไว้
  • ซื้อจากแหล่งที่มั่นใจได้: คุณควรเลือกซื้อยาสีฟันจากแหล่งที่มั่นใจได้ เช่น ร้านขายยา หรือร้านขายออนไลน์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการ

การเลือกซื้อยาสีฟันที่มีคุณภาพและปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยให้คุณได้ผลลัพธ์ที่ดีและไม่เสียหายต่อสุขภาพฟันและปาก โดยหากคุณยังไม่แน่ใจว่าควรเลือกยาสีฟันชนิดไหน คุณควรปรึกษากับทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านด้านนี้ก่อนตัดสินใจในการซื้อสินค้า หรือการใช้ยาสีฟันที่เหมาะสมสำหรับคุณ

สรุปแล้วควรใช้ดีหรือไม่ดีกับยาสีฟันเพื่อฟันขาว?

หากว่าคุณกำลังสนใจก็ควรพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ ยาสีฟันฟันขาว ให้ลองมองหาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์กรทางทันตกรรมที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่บ่งชี้ว่า ยาสีฟันเพื่อฟันขาวยี่ห้อนั้นๆมีประสิทธิภาพในการลดที่คราบผิวฟัน แต่ทางที่ดีถ้าอยากให้เห็นผลชัดเจนมากยิ่งขึ้นก็ควรที่จะไปพบทันตแพทย์โดยตรง เพื่อทำการฟอกสีฟันจะได้เห็นผลได้ชัดเจนมากกว่า เพราะยาสีฟันเพื่อฟันขาวนั้นไม่ได้ช่วยฟอกสีฟันจากทางภายในแต่แค่ช่วยกำจัดลดคราบจากภายนอกเท่านั้น และ ไม่สามารถขาวไปมากกว่าสีฟันธรรมชาติของเราเอง . . . และสิ่งที่สำคัญมากกว่าฟันขาว คือการที่มีฟันที่แข็งแรงและสุขภาพในช่องปากและฟันที่ดีนั่นเอง หากคุณสนใจการฟอกสีฟันสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ว่าควรเลือก การฟอกสีฟันแบบไหนดี

อ้างอิง:

ยาสีฟันฟอกฟันขาว Whitening Toothpaste. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/14546

7 best ADA-accepted whitening toothpastes of 2023. https://www.nbcnews.com/select/shopping/best-whitening-toothpaste-ncna1294908#anchor-Howtoshopforwhiteningtoothpaste