ปวดฟันคุด ปัญหาอันหนักใจของใครหลายๆ คน ซึ่งฟันคุดเป็นฟันที่ผิดปกติไม่สามารถงอกขึ้นมาเองได้หรืออาจจะงอกออกมาแต่ไม่เต็มซี่ บ้างก็ขึ้นแบบเอียงๆเฉียงๆไปติดอยู่กับฟันข้างเคียงหรือไปมุดอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่จะพบว่าเกิดในวัย 17-25 ปี ซึ่งมักจะเป็นฟันกรามล่างซี่สุดท้าย (ฟันกรามซี่ที่สาม) แต่ทั้งนี้ก็อาจจะพบในบริเวณอื่นได้เช่นกัน เช่น ฟันเขี้ยว เป็นต้น
โดยส่วนมากทางเราจะทราบว่ามีฟันคุดก็ตอนที่จะเริ่มมีอาการปวดเพราะแรงดันของฟันที่พยายามจะงอกยังคงอยู่จนบางครั้งอาจจะพบว่ากระดูกที่บริเวณรากฟันถูกดันจนสลายตัวไปก็มี ส่วนบางคนก็เป็นมากจนอาจทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อ้าปากไม่ขึ้น หน้าบวมตู่ไปทั้งแถบด้านข้างที่ปวด หรือเคี้ยวและกลืนอาหารลำบาก เป็นต้น แต่ก็มีบางกรณีที่อาจจะไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่ถ้าหากปล่อยไว้ก็จะอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้
ส่วนใหญ่ทางทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนฟันคุดออกเพราะนอกจากจะไม่ได้ใช้งานและไม่มีประโยชน์ใดๆแล้วยังทำให้ปวดมากแล้วยังคงส่งผลกระทบอีกหลายด้าน เช่น ฟันคุดมีโอกาสสูงอย่างมากที่จะทำให้ฟันข้างเคียงผุเพราะฟันคุดเป็นที่กักเก็บเศษอาหารอันเนื่องมาจากยากต่อการทำความสะอาดแล้วหากเศษอาหารสะสมอยู่บริเวณนั้นนานๆยังอาจก่อให้เกิดเชื้อโรคได้อีกด้วย หรือส่งผลอาจทำฟันเกเพราะฟันคุดอาจจะดันและผลักฟันข้างเคียงไปกระทบต่อๆกันเหมือนโดมิโน ซึ่งในส่วนนี้ทันตแพทย์จัดฟันบอกจะแนะนำให้ถอนฟันคุดออกก่อนที่จะใส่เครื่องมือดัดฟัน หรือเป็นต้นเหตุของอาการเหงือกอักเสบและปวดบวม เป็นต้นซึ่งแน่นอนว่าการเก็บฟันคุดนั้นไม่มีผลดีใดและอาจจะส่งผลเสียต่อในอนาคตระยะยาวได้
หากคุณปวดฟันคุดมากๆ อาจหมายถึงมีฟันคุดที่อยู่ในชั้นเนื้อเยื่อหรือกระดูกของรากฟัน ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเส้นประสาทหรือการติดเชื้อในเนื้อเยื่อรอบฟัน โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเกิดอาการปวดฟันคุด ส่วนมากจะถูกแนะนำให้ถอนฟันออก เพื่อลดอาการปวดและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี หากฟันคุดไม่ถอน อาจเกิดผลเสียได้ดังนี้
ดังนั้น ถ้ามีอาการปวดฟันคุด ไม่ควรเลี่ยงการพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ประเมินและรักษาโรคให้ทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตและประโยชน์ของสุขภาพในระยะยาว
หลายคนอาจจะสงสัยหากเป็นฟันคุดจำเป็นหรือไม่ที่เราต้องออกแล้วทำไมต้องผ่าฟันคุด? จริงๆ เป็นความจำเป็นอย่างมาก หากพบตั้งแต่อายุยังน้อยนั้นจะเป็นผลดีกว่าไปพบตอนแก่ตัว ซึ่ง เทคนิคผ่าฟันคุด ของแพทย์แต่ละคนก็จะมีการประเมินผลและขั้นตอนที่แตกต่างกันไป แต่หากรีบเอาฟันคุดเจ้าตัวปัญหาออกได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อตัวเราเองมากเท่านั้น เนื่องจากรากฟันจะยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่และกระดูกช่วงขากรรไกรยังคงไม่หนามาก ทำให้การหายของบาดแผลจะเป็นไปดีกว่าและง่ายกว่าตอนแก่ตัว อีกทั้งเพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุและการอักเสบของเหงือก ป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอกที่อาจจะเป็นเนื้องอกร้ายในอนาคตได้
การที่จะเอาฟันคุดออกนั้นวิธีการอาจจะแตกต่างจากการถอนฟันทั่วไปเพราะว่าโดยส่วนมากฟันคุดจะออกมาไม่เต็มซี่หรือมุดอยู่ในเหงือก ทำให้ยากต่อการดึงออกแบบปกติหรือเพื่อปกป้องฟันข้างเคียงไม่ให้ได้รับผลกระทบจากแรงงัดเป็นต้น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอะไรเพราะในยุคปัจจุบันมีการใช้ยาชาที่มีประสิทธิภาพสูงทำให้การผ่าเอาฟันคุด หรือ การถอนฟันคุด นั้นเป็นเรื่องง่ายมากใช้เวลาในการผ่าเอาฟันคุดออกประมาณ 15-30 นาทีก็เสร็จสิ้น (ซึ่งบางกรณีก็อาจจะใช้เวลามากกว่า 30 นาทีทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละกรณีไป) สามารถกลับบ้านได้เลยไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล
เรียกได้ว่า การผ่าตัดฟันคุดนั้นเป็นกระบวนการที่ปลอดภัยและได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปัจจุบัน แพทย์จะใช้ยาชากล้างปากเพื่อลดความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่เหมือนในระหว่างการผ่าตัด และมีการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดให้กับผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดฟันคุด เพื่อให้มั่นใจและปลอดภัยในการรักษาของผู้ป่วย
ทันตแพทย์จะทำการซักถามประวัติเกี่ยวกับด้านสุขภาพและการรักษาทางทันตกรรมต่างๆ ซึ่งหากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ควรจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษทางทันตแพทย์จะให้คำแนะนำสำหรับการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าฟันคุด จากนั้นทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปากเพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นและความยากง่ายของการผ่าฟันคุดที่มีปัญหา จากนั้นเมื่อทำการผ่าได้ทันตแพทย์จะลงยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก เมื่อผู้ป่วยรู้สึกชาเต็มที่ทันตแพทย์จะทำการเปิดเหงือกเพื่อให้เห็นฟัน เมื่อพบแล้วจะใช้เครื่องมืองัดหรือคีบถอนฟันคุดออกมา เมื่อทำการเสร็จทุกอย่างเรียบร้อยก็จะทำความสะอาดและเย็บแผลเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
หากคุณสนใจอยากผ่าฟันคุด แต่ไม่ทราบค่าใช้จ่าย คุณอาจสนใจเนื้อหาต่อไปนี้: ผ่าฟันคุดราคาเท่าไหร่
โดยทั่วไปแล้วจะพบอาการแทรกซ้อนเหล่านี้ได้หลังจากการผ่าฟันคุดแต่เป็นอาการปกติโดยทั่วไป ไม่ใช่อาการร้ายแรง เช่น หลังจากคายผ้าก็อซแล้วยังคงมีเลือดไหลออกมาอยู่เล็กน้อยหรือมีอาการปวดบวมที่บริเวณ แก้ม ใบหน้า หรือลำคอ ด้านที่ทำการผ่าตัดสัก 2-3 วัน หรืออาจจะฟกช้ำ หรืออาจจะอ้าปากได้น้อยลง หากยังคงรู้สึกปวดก็ให้ทานยาแก้ปวดระงับก็จะช่วยทุเลาลงได้ และอย่าทำอะไรที่เป็นการกระทบกระเทือนต่อแผล
ส่วนอาการแทรกซ้อนที่อาจจะพบได้แต่พบได้น้อยมาก ได้แก่ มีไข้หรือมีการอักเสบติดเชื้อหลังจากการผ่าตัด หรืออาการกรามค้างและอาจจะทำให้กระดูกเบ้าฟันอักเสบได้ และที่สำคัญบางกรณีอาจจะไปทำลายที่ปลายประสาททำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปากล่างหรือลิ้น ทั้งๆที่น่าจะหมดฤทธิ์ของยาชาไปนานแล้ว เลือดยังคงออกมามาก อ้าปากไม่ขึ้นเพราะเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการอักเสบ เป็นต้น ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบกับทันตแพทย์โดยเร็วเพื่อจะได้แก้ไขได้ทันที แต่จะพบได้น้อยมากๆ ฉะนั้นผู้ป่วยไม่ควรกังวลจนเกิดเหตุหากผู้ป่วยทำตามข้อปฏิบัติหลังการผ่าฟันคุดอย่างเคร่งครัดและหมั่นรักษาความสะอาดในช่องปากอยู่เสมอ อาการแทรกซ้อนก็จะมีความเสี่ยงน้อยลงตามลำดับ
อ้างอิง:
–Wisdom tooth extraction. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/wisdom-tooth-extraction/about/pac-20395268
–How it’s performed. Wisdom tooth removal. https://www.nhs.uk/conditions/wisdom-tooth-removal/what-happens/
–Wisdom teeth removal: When is it necessary?. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/wisdom-teeth/expert-answers/wisdom-teeth-removal/faq-20058558