การขูดหินปูน จำเป็นหรือไม่?คราบฟันหรือหินปูน (calculus หรือ tartar) คือการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของคราบพลัค โดยเริ่มจากการที่น้ำลายและแบคทีเรียก่อตัวตามร่องฟันและร่องเหงือก โดยน้ำลายจะมีแคลเซียมบางชนิดที่ยิ่งนานไปคราบขี้ฟัน คือ Bacterial plaque ที่มีลักษณะเป็นคราวขาวขุ่นทำให้แข็งตัวขึ้น ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการบ้วนปาก
แม้หลังการแปรงฟันที่สะอาด ก็หนีไม่พ้นการสะสมของคราบจุลินทรีย์นี้ได้ ซึ่งจะเริ่มก่อตัวขึ้นหลังจาก 2-3 นาทีของการแปรงฟัน โดยน้ำลายจะเข้ามาเกาะที่ผิวฟัน ซึ่งเบื้องต้นอาจจะไม่ทำให้เกิดโรค แต่หากมีแบคทีเรียเข้ามาร่วมด้วย จะทำให้เกิดคราบและเชื้อโรค
การแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธีหรือการละเลยการทำความสะอาดจะทำให้คราบจุลินทรีย์ก่อตัวขึ้นเรื่อย ซึ่งจะทำลายผิวฟันและมีผลต่อเหงือกในที่สุด ซึ่งจุดที่จะพบคราบหินปูนคือบริเวณร่องฟันเพราะฟันมีลักษณะที่ขรุขระ ตามคอฟัน จนถึงในร่องเหงือกและช่องระหว่างฟันที่ต่อกัน ซึ่งหากมีมากขึ้นจะทำให้เกิดโรคฟันผุ หากสะสมตามร่องเหงือกมากเข้าจะทำให้เหงือกอักเสบและเมื่อติดเชื้อขั้นรุนแรงจะทำให้เกิดโรคปริทันต์ อาจทำให้ถึงขั้นต้องถอนฟันทิ้ง การเข้ารับการรักษาจากทันตแพทย์จะใช้สารย้อมฟันเพื่อตรวจดูคราบหินปูน แต่ในกรณีที่มีคราบสะสมมาก เราจะสังเกตเห็นเองได้ง่ายๆ เพราะมีคราบขาวขุ่นจนถึงเหลืองเกาะบริเวณร่องฟันและเหงือก
เนื่องจากการต่อตัวของคราบหินปูนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การแปรงฟันที่ถูกวิธีเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยลดคราบหินปูนไม่ให้สะสม แต่คราบหินปูนสามารถก่อตัวได้ทั้งบนผิวฟันและใต้เหงือก ซึ่งการแปรงฟันก็อาจเข้าไม่ถึงและทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยทันตแพทย์โดยการขูดหินปูน ซึ่งทันตแพทย์จะขูดออกทั้งบนผิวฟันและตามร่องเหงือกได้อย่างสะอาด จนถึงทำให้รากฟันเรียบ เพื่อให้เหงือกยึดติดรอบตัวฟัน ลดสาเหตุของเหงือกร่น
การขูดหินปูน ขึ้นอยู่กับปริมาณของคราบหินปูนที่ก่อตัว ซึ่งอาจต้องใช้เวลาพอสมควร โดยพิจารณาจากความลึกของร่องเหงือก ความแข็งตัวของคราบหินปูน ซึ่งอาจต้องนัด 2 ครั้งขึ้นไปและใช้เวลาเกือบชั่วโมง
ในกรณีที่เป็นโรคปริทันต์ แพทย์อาจจะนัดถี่ขึ้น โดยหลังจาก 4-6 สัปดาห์ แพทย์จะนัดพบเพื่อประเมินผลการรักษา โดยสังเกตลักษณะของเหงือกว่ามีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ เช่น ยังคงมีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือไม่ เหงือกมีการยึดติดกับฟันที่ดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัด ซึ่งหากผู้ป่วยให้ความร่วมมือที่ดี โดยการทำความสะอาด การเข้าตรวจเช็คสุขภาพช่องปากสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ทุเลาและหายได้ แต่ในขณะเดียวกันแม้ได้รับการรักษาที่ดีจากทันตแพทย์แล้ว แต่หากปล่อยไว้ไม่ดูแล โรคปริทันต์ก็จะกลับมาได้อีก
สามารถทำได้ตั้งแต่วัยเด็กที่มีฟันน้ำนม จนถึงผู้สูงอายุ โดยเริ่มแรกอาจจะเข้ารับการตรวจสุขภาพฟัน และวัดร่องลึกปริทันต์ก่อน จากนั้นจึงขูดหินปูน ซึ่งใหม่ๆแพทย์อาจนัดพบบ่อยประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง จากนั้นทันตแพทย์จะนัดพบโดยพิจารณาจากการรักษาความสะอาดของผู้ป่วย ถ้าไม่มีปัญหาของร่องเหงือกและฟันแพทย์อาจนัดขูดหินปูน 5-6 เดือนต่อครั้ง
การขูดหินปูนบ่อยๆ จะมีผลกระทบต่อฟันหรือไม่?
การขูดหินปูนไม่มีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเหงือกและฟัน แต่หลังการเข้ารับการรักษาใหม่ๆ อาจเจ็บบริเวณเหงือกบ้าง แต่อาการเหล่านี้จะลดลงไปเอง
ถ้าไม่ขูดหินปูนจะเกิดผลเสียอย่างไร
เริ่มแรกอาจทำให้ฟันผุ ไม่กลิ่นปาก และโรคเหงือกอักเสบ จนถึงขั้นเกิดโรคปริทันต์ซึ่งอาการของโรคปริทันต์มีวิธีการสังเกตง่ายๆ คือเมื่อมีเลือกออกขณะแปรงฟัน เหงือกบวมแดง เกิดกลิ่นปากแม้หลังแปรงฟัน มีหนองที่เหงือก เหงือกร่น ฟันเริ่มโยกหรือแยกตัวออกจากกัน หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาของเลือกแข็งตัวช้า อาจต้องเข้ารับการรักษาโดยการให้สารทดแทนก่อนขูดหินปูน เพื่อลดปัญหาแทรกซ้อน
สิ่งสำคัญคือความสะอาด ไม่ว่าจะการแปรงฟัน หรือใช้อุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวกับช่องปาก เช่นไหมขัดฟัน น้ำยาบ้วนปาก ไม้กระตุ้นเหงือก ให้เหงือกแข็งแรง โดยคำแนะนำจากทันตแพทย์ ซึ่งการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจะช่วยลดอาการฟันผุและโรคปริทันต์ได้ โดยวิธีดังนี้
สรุปได้ว่า การขูดหินปูนช่องปากเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาสุขภาพช่องปากและป้องกันปัญหาเกี่ยวกับเหงือกและฟัน ทั้งช่วยป้องกันโรคเหงือก ป้องกันฟันเน่า และสร้างความรู้สึกสะอาดและสดชื่นในช่องปากได้มากยิ่งขึ้น
อ้างอิง:
–What Is Scaling?. https://www.123dentist.com/what-is-scaling/
–What is Dental Scaling? Types, Costs & FAQs. https://www.hovedentalclinic.co.uk/blog/dental-scaling/